User Online

User Online: 12
Today Accessed: 476
Total Accessed: 452275
Your IP: 18.226.200.240

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง100 เมกะวัตต์แรก ที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบได้ในราคารับซื้อไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือน พ.ค.2562นี้ และกกพ.จะมีการพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ

เมื่อวันที่20 มีนาคม 2562 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้จัดให้มีการแถลงข่าว เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่หรือ PDP2018ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบอนุมัติในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562ที่ผ่านมา โดยมีนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และนางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงาน กกพ. ร่วมในการแถลงข่าว

โซลาร์ภาคประชาชน ปี 2562โซลาร์ภาคประชาชน ปี 2562
รัฐมนตรีพลังงานนำแถลงข่าวเปิดตัวโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
โดยนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ในบางเวลาเข้าสู่ระบบได้ ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว ยังมีรายได้เสริมจากการขายไฟฟ้าส่วนที่เหลืออีกด้วย

ทั้งนี้โครงการ“โซลาร์ภาคประชาชน” ที่ กกพ. เปิดตัวในวันนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ได้กำหนดหลักการโครงการนำร่องการรับจดทะเบียนเจ้าของบ้านและอาคารที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง สามารถเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้ เข้าสู่ระบบได้ ในขนาดการติดตั้งประมาณ 100 MW ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มรับจดทะเบียนได้ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศ และสถาบันอาชีวะศึกษา มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ ที่ในแต่ละปีคาดว่าจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000 – 20,000 ระบบ เป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี ทั้งนี้หลักการของโครงการจะได้มีการนำเสนอ โดย กกพ. ในลำดับต่อไป

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนครั้งนี้ จะเป็นมิติใหม่ในการกำกับดูแลภาคพลังงานของ กกพ. เพราะนอกเหนือจากการที่ กกพ. ออกระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาไฟฟ้า และออกประกาศเชิญชวนตามปกติแล้ว กกพ. ยังจะอำนวยความสะดวกด้านการให้ข้อมูล และการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และยืนยันว่า ทุกคนจะได้รับการพิจารณาอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม

สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วย
1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จะเริ่มกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 โดยประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th และเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 แห่ง
2. เปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงและเว็บไซต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562
3. ทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาโดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562
4. กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2562
นายเสมอใจ กล่าวด้วยว่า อยากให้ประชาชนได้มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วย โดยเฉพาะการพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าวประชาชนจะต้องมีการลงทุนเพื่อติดตั้งระบบ ดังนั้น ควรต้องคำนึงถึงความคุ้มทุนที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนด้วย ซึ่งความคุ้มค่าการลงทุนจะขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเป็นหลัก และอยากให้มีการเปรียบเทียบ กับปริมาณความต้องการ และช่วงเวลา ในการใช้ไฟฟ้า เช่น หากมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันมากอยู่แล้ว ระยะเวลาในการคุ้มทุนย่อมเร็วกว่า เป็นต้น


ข้อมูลทางเทคนิคและการเงิน ที่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการต้องศึกษาถึงความคุ้มทุน
นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงาน กกพ. เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วย
1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ :
1.1 บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
1.2 เป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
ไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน
2. เป้าหมาย และปริมาณการรับซื้อรวม 100 เมกะวัตต์ :
2.1. พื้นที่การไฟฟ้านครหลวงรวม 30 เมกะวัตต์    
2.2. พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครวม 70 เมกะวัตต์
3. เงื่อนไขในการพิจารณา และข้อยกเว้น :
การพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ
4. ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

ที่มา: http://www.energynewscenter.com

20/03/2019 ; 2:09 pm

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา

ลงทะเบียนที่นี่

การไฟฟ้านครหลวง      https://spv.mea.or.th/   

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค    https://ppim.pea.co.th


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ แผงโซล่าเซล inverter ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า pantip EPIC® SOLAR ราคาแผงโซล่าเซลล์ Carport dc fuse AC Surge Protection Devices grid inverter เซ็นทรัล อินเวอร์เตอร์ EATON