User Online

User Online: 3
Today Accessed: 977
Total Accessed: 420013
Your IP: 3.233.221.90

กกพ. เสนอ 2 แนวทาง แก้ปัญหาโครงการโซลาร์ รูฟท็อป ระบุทำหนังสือขยาย COD ออกไปในปี 57 พร้อมเร่งเจรจา กรอ.ประเด็น รง.4 คาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ มั่นใจหากได้ข้อยุติ ส่งผลให้บ้านอยู่อาศัยแห่ติดตั้งโซลาร์ฯ มากขึ้น

นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติด ตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) ว่า กกพ.มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว 2 แนวทาง คือ 1.เตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลากำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) สำหรับโครงการ Solar PV Rooftop ออกไปใน2557 เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของการดำเนินโครงการ ซึ่งรวมถึงการติดตั้งและเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า และเพื่อให้ปริมาณการยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากโครงการ Solar PV Rooftop ทั้ง 152.29 เมกะวัตต์ สามารถเข้าระบบได้ทั้ง 100%

2.กกพ.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และพยายามหาทางออกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการขออนุญาตใบประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด เพื่อให้โครงการ Solar PV Rooftop เป็นไปตามเป้าหมาย และสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ ระหว่างแก้กฎกระทรวงให้การติดตั้ง Solar PV Rooftop กำลังผลิตไม่เกิน 20 กิโลวัตต์ จัดเป็นโรงงานประเภท 2 ไม่ต้องของ รง.4 กับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงกระทรวงพลังงาน จะเจรจากับกรมโยธาธิการและผังเมือง เสนอเพิ่มประเภทโรงไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและใช้พลังงานทดแทนบางประเภท สามารถตั้งอยู่ในเขตชุมชนได้ โดยประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

“การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่อง รง.4 จะเป็นการส่งเสริมให้โครงการ Solar PV Rooftop มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ผ่านการคัดเลือก โดยเฉพาะประเภทบ้านอยู่อาศัย ทั้ง 6,040 ราย ให้เกิดความคล่องตัวในการติดตั้ง Solar PV Rooftop มากขึ้น แต่ในระยะยาว การแก้ไขปัญหา รง.4 จะทำให้ประชาชนกลุ่มบ้านอยู่อาศัยสามารถเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจาก Solar PV Rooftop ได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะจะไม่ติดกับกฎระเบียบต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการติดตั้ง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานทดแทนของประเทศ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การเปิดรับซื้อไฟฟ้า Solar PV Rooftop ที่ผ่านมา มีผู้สนใจยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจและโรงงาน ดังนั้นหากมีการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม อาจจะให้สิทธิผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสนอขายไฟฟ้าที่ได้ยื่นข้อเสนอต่อ การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายไว้แล้ว” นายกวิน กล่าว

ส่วนความคืบหน้าการออกใบอนุญาตประเภทต่างๆ อาทิ แบบแจ้งขอดัดแปลงอาคาร แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม และแบบแจ้งขอยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า สำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้ าSolar PV Rooftop ในส่วนของ สำนักงาน กกพ. ภายหลังจาก 2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง 7,521 ราย แยกเป็น ประเภทบ้านอยู่อาศัย 6,040 ราย และประเภทธุรกิจและโรงงาน 1,481 รายนั้น ขณะนี้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ได้ทยอยเดินทางมาติดต่อขอใบอนุญาตต่างๆ จากสำนักงาน กกพ.แล้วทั้งสิ้น 7,058.52 กิโลวัตต์ แยกเป็นประเภทอาคารธุรกิจ 7,034.02 กิโลวัตต์ และกลุ่มบ้านอยู่อาศัย 24.50 กิโลวัตต์ ซึ่งหากได้ข้อสรุปเรื่อง รง.4 คาดว่าจะทำให้ปริมาณการยื่นขออนุญาตต่างเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้นเมือง วันที่ 9/12/2556 เวลา 9:55 น.


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

Tags

โซล่าฟาร์ม โซล่าเซลล์ solar farm solar inverter บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม โซล่าอินเวอร์เตอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ รับซื้อไฟฟ้า จําหน่ายโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซล ขายไฟฟ้า วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ solar cell ราคา LappKabel Solar XLR-R grid tie solar cell Roof top solar อินเวอร์เตอร์ Schneider ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สายไฟ DC inverter Grid Tie Inverter solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า ขาย solar cell ราคาถูก Sshneider กริดอินเวอร์เตอร์ ราคาโรงงาน สายไฟโซล่า โรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ Basket Cable Tray อินเวอร์เตอร์ ราคาถูก โซล่าอินเวอร์เตอร์ ราคาถูก โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ โซล่าเซล โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า ราคา Solar mono solar farm ราคา โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ รางตะแกรงสายไฟ โรงจดรถ ทำโรงไฟฟ้า