Categories
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางเป็นเทคโนโลยีใหม่
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลกและใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในบรรดาประเทศอาเซียน
โครงการโรงไฟฟ้า “ลพบุรี โซลาร์” ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 โดยบริษัทเอ็กโกกรุ๊ป ร่วมลงทุนกับบริษัทซีแอลพีไทยแลนด์ รีนิวเอเบิลส์ ลิมิเต็ดและบริษัท ไดมอนด์ เจเนอเรดิ้ง เอเชีย ลิมิเต็ด ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติจำกัด โรงไฟฟ้าลพบุรี โซลาร์เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทฟิล์มบาง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เป็นโครงการแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ ไทย เพราะยิ่งหน้าร้อนประชาชนชาวไทย กลัวว่าจะมีไฟฟ้าไม่พอใช้ พลังงานไม่มีมาทดแทนต่อไปไม่ต้องวิตกกังวลอีกแล้ว
โรง ไฟฟ้าลพบุรีโซลาร์ก่อสร้างเสร็จแล้วเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่วัน ที่ 22 ธันวาคม 2554 ปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว 55 เมกะวัตต์ ช่วงนี้อยู่ระหว่างติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตให้ได้ตาม เป้าหมายที่วางไว้ ที่ 63 เมกะวัตต์ (จ่ายไฟฟ้าได้ 70,000 ครัวเรือน) ใช้แผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมด 550,000 แผง ระยะเวลาสัมปทานผลิตไฟฟ้าของบริษัทฯใช้ระยะเวลา 25 ปี จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1.3 ล้านตันและช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบในการผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 350,000 ตัน อยู่ในพื้นที่ 1,142 ไร่ มีขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานเรียงต่อกัน 250 สนาม
แผง โซลาร์เซลล์จำนวนหลายแสนแผงติดตั้งบนคานโลหะ Super Dima ซึ่งทนต่อความชื้นสูงตั้งบนฐานรองรับทำจากปูนซีเมนส์ออกแบบให้ใช้งานได้ตลอด อายุงาน 25 ปี แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งให้หันหน้าแผงไปทางทิศใต้ทำมุมกับพื้นดิน 10 องศา ซึ่งได้คำนวณแล้วว่าทำให้ผลิตไฟฟ้าได้มีประสิทธิภาพสูงสุด พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจ่ายเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฝผ.) ส่งไปตามสายส่งจนถึงศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเขต 3 ทางภาคเหนือจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ตอนบน ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ ชัยนาท อุทัยธานี และนครสวรรค์
ที่ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรีเป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เอสพีพีทู ( SPP2 ) ใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบผลึกรวมประกอบเข้ากับระบบปรับแผงโซลาห์เซลล์แบบหมุน ตามดวงอาทิตย์ นับเป็น 1 ใน 4 โรงไฟฟ้าเอกชนแห่งแรกในไทยที่ใช้เทคโนโลยีนี้ แผงโซลาห์เซลล์จะหมุนตามดวงอาทิตย์ทุก 8 นาที การหมุน1 ครั้งจะเปลี่ยนมุมไป 3 องศาใช้เวลาหมุนแต่ละครั้ง 20 วินาทีในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดพายุลมแรง คอมพิวเตอร์ จะสั่งการให้โซลาร์เซลล์ทุกแผงหันมุมขนานกับพื้นอย่างทันทีทันใด เพื่อความปลอดภัย การใช้แผงโซลาร์เซลล์ระบบหมุนตามดวงอาทิตย์ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแผลโซ ลาร์เซลล์แบบฟิลม์บางและมีความคงทนมากกว่า
เอส พีพี ทู ก่อสร้างเสร็จและเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญาสัมปทานผลิตไฟฟ้า 5 ปี และต่อสัญญาได้ครั้งละ 5 ปี โดยอัตโนมัติ โดยจะได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ( Adder ) เป็นระยะเวลานาน 10 ปีตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2555 โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์จากโซลาร์เซลล์ 34,000 แผงในพื้นที่ 205 ไร่
เรา มีแหล่งเรียนรู้คือ ศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนกรีนเอ็ดดูเคชั่น เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีหอสังเกตการณ์สูง 5 ชั้น สร้างที่ศูนย์โรงไฟฟ้าลพบุรีโซลาร์ ประกอบด้วยห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองลพบุรี ของดีเมืองลพบุรี
ข้อมูล ล่าสุดในภาพรวมการเติบโตของพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก ราคาค่อนข้างลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลิตโดยเอกชนในประเทศจีนด้วยอาศัยแรงงานราคาถูกผลิตส่งออกในปริมาณมากๆ จนสามารถฉุดราคาแผงโซลาร์เซลล์ทั่วโลกให้ต่ำลง
ประเทศ สเปนกำลังเปิดตัว โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เยมาโซลาร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ใช้แผงรวมแสงอาทิตย์ 2,650 แผงในพื้นที่ 1,156 ไร่ เป็นการรวมพลังงานความร้อนมาต้มน้ำในหอคอยแล้วนำไอน้ำที่ได้ไปปั่นกังหันกำ เนินไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับผู้บริโภคได้ 25,000 ครัวเรือน
ใน ทวีปเอเชีย ประเทศจีน สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ มากกว่าไทยเรา 45 เมกะวัตต์ ที่เมืองตงหวง มณฑลกวนซู งบประมาณ 30,640 ล้านบาท ตามแผนคาดว่าจะสร้างเสร็จภายใน 5 ปีเพื่อเป็นโรงงานต้นแบบ
จาก ผลงานวิจัยของคณะกรรมาธิการวิจัยร่วมแห่งสหภาพยุโรป เมื่อปี พ.ศ.2545 คาดว่าการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั่วโลกจะแตะระดับ 70,000 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2563 และ 140,000 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ.2573
ใน อนาคตน่าจะเชื่อได้ว่าเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะดีขึ้น และจะมีราคาถูกลงคือ ยิ่งมีคนใช้กันมากก็ทำให้ต้นทุนการผลิตก็ยิ่งถูกลงตามมาสังเกตตามบ้านเรือน อาคารสถานที่บางแห่งจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ของระบบพลังงานให้มากขึ้น โดยนำระบบการจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจุบัน เราไม่ได้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์เองแต่นำเข้ามาแทบทั้งหมด เมื่อพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน) กำลังจะหมดไปแต่พลังแสงอาทิตย์ยังคงมีเช่นนี้ อีกนานนับ 4,500 ล้านปีจึงขึ้นอยู่กับคนเราจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ให้คุ้มค่ากับการลงทุนภาคการผลิตและสามารถขจัดข้อจำกัดต่างๆ ออกไปได้หรือไม่ และคิดว่าเราจะไม่ต้องรอจนกระทั่งน้ำมันและถ่านหินหมดไปเสียก่อนเราควรจะ เริ่มหาและนำพลังงานนี้ มาใช้มาเสริมมาทดแทนจะได้มีพลังงานใช้ได้นานๆ ยิ่งขึ้น
สจจ.อุบลราชธานี
จาก : สำนักงานจัดรูปที่ดิน จังหวัดอุบลราชธานี ลงวันที่ : 2013-06-08
» Do not allow new products at this time.