User Online

User Online: 3
Today Accessed: 824
Total Accessed: 433501
Your IP: 52.205.218.160
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เตรียมนำโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)เสรี เข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่มี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ในวันที่ 4 ต.ค.2560 โดยราคารับซื้อจะแตกต่างระหว่างบ้านที่อยู่อาศัยและโรงงาน และต้องต่ำกว่าราคาขายส่งที่กฟผ. ขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง  รวมทั้งระยะแรกจะรับซื้อไม่ถึง1,000เมกะวัตต์  ในขณะที่จะเปิดให้โครงการนำร่องก่อนหน้านี้ สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินได้ 
 กกพ โซล่ารูฟเสรี
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า พพ.เตรียมนำโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)เสรี เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่มี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ในวันที่ 4 ต.ค.นี้ เพื่อพิจารณารายละเอียดและกำหนดรูปแบบโครงการ
 
โดยเบื้องต้น โครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี จะทยอยเปิดรับซื้อไฟฟ้าเป็นระยะ  ซึ่งระยะแรก คาดว่าจะรับซื้อไม่ถึง 1,000 เมกะวัตต์ และราคารับซื้อจะแตกต่างกันระหว่างภาคบ้านอยู่อาศัย กับโรงงานและอาคารพาณิชย์ เพราะมีต้นทุนติดตั้งแตกต่างกัน   อย่างไรก็ตามราคารับซื้อจากทุกกลุ่มจะต้องต่ำกว่าราคาขายส่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ขายให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA)
 
นายประพนธ์ กล่าวว่า โครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี จะยังคงใช้หลักการเดียวกับโซลาร์รูฟท็อปนำร่อง 100 เมกะวัตต์ที่เปิดโครงการไปเมื่อปี 2559 คือจะเน้นการผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นหลัก ส่วนที่เหลือสามารถขายเข้าระบบได้ และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า รวมถึงต้องช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค)ช่วงกลางวัน ขณะเดียวกันอาจพิจารณาให้โครงการนำร่องที่มีผู้ร่วมโครงการ 38.38 เมกะวัตต์ สามารถเข้าร่วมขายไฟฟ้าส่วนเกินได้
 
โดยหาก กบง. อนุมัติรูปแบบโซลาร์รูฟท็อปเสรีแล้ว จะต้องนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเห็นชอบโครงการอีกครั้ง จากนั้นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) จะจัดทำรายละเอียดและกำหนดกติกาต่างๆ เพื่อออกประกาศเปิดโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรีต่อไป ซึ่งแต่ละพื้นที่จะกำหนดสัดส่วนรับซื้อไฟฟ้าโดยจะพิจารณาจากความสามารถของสายส่งเป็นหลัก
 
ก่อนหน้านี้ พพ.ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิเคราะห์ โครงการนำร่องการส่งเสริมติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี 100 เมกะวัตต์ และเสนอให้กระทรวงพลังงาน ตัดสินใจเดินหน้าโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี โดยกำหนดเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า แบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1. รับซื้อ 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2579 หรือ 300 เมกะวัตต์ต่อปี จะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า 0.7-1.4 สตางค์ต่อหน่วย 
 
กรณีที่2 รับซื้อ 12,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2579 หรือ 600 เมกะวัตต์ต่อปี จะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า 1.4-2.8 สตางค์ต่อหน่วย และกรณีที่3 รับซื้อ 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2563 หรือ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี จะมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า 0.8-1.4 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งทั้ง 3 กรณีส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าไม่เกิน 3 สตางค์ต่อหน่วย โดย พลเอก อนันตพร ได้สั่งการให้ พพ.และจุฬาฯ ประมวลผลโครงการให้ชัดเจนอีกครั้งก่อนนำเสนอ กบง.พิจารณาในเดือน ต.ค.นี้
 
ที่มา: http://energynewscenter.com/index.php/news/detail/943
    • Date : 24/09/2017, 19:08.


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โซล่าอินเวอร์เตอร์ ราคาถูก Growatt รับซื้อไฟฟ้า solar monitoring โซ ล่า ประชาชน โซล่าอินเวอร์เตอร์ ราคาโรงงาน phoenix fuse holder DC Surge Arrester จําหน่ายโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ โซ ล่า เซลล์ ก ฟ น