User Online

User Online: 6
Today Accessed: 746
Total Accessed: 412798
Your IP: 3.237.31.191

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)วันนี้พิจารณาแนวทางส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in Tariff(FiT) โดยเห็นชอบใน 2 ประเด็นหลักคือ ให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทต่างๆ ให้ครบตามเป้าหมายและกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in Tariff สำหรับใช้ในการรับซื้อไฟฟ้าในปี 57-58 ซึ่งกระทรวงพลังงานโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเรียบร้อยแล้ว

สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม)ให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 576 เมกะวัตต์ เพื่อให้เต็มตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,000 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.58 โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) รับไปพิจารณาจากผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอขายไฟฟ้าไว้เดิมแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า

ส่วนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป)ให้ขยายเวลากำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์สำหรับโครงการที่ผูกพันกับภาครัฐแล้ว 130.64 เมกะวัตต์ จากเดิมกำหนดไว้ภายในเดือน ธ.ค.56 เป็นภายในสิ้นเดือน ธ.ค.57 เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องความชัดเจนการตีความนิยามของ “โรงงาน" ตามกฎหมาย และปัญหาการขออนุญาตดัดแปลงอาคารตามข้อกำหนดกรมโยธาธิการและผังเมืองทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในกำหนด พร้อมกันนี้ยังเปิดรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มสำหรับประเภทโครงการขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัยขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์อีก 69.36 เมกะวัตต์ เพื่อให้ครบเป้าหมาย 200 เมกะวัตต์ โดยกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.58

ขณะที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งในพื้นที่ชุมชน (โซลาร์ชุมชน)ให้ปรับเปลี่ยนเป็นโครงการสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร ขนาดติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ต่อแห่ง รวม 800 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.58 จากเดิมรูปแบบจะให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นเจ้าของโครงการ แต่ติดปัญหาหลายประการทำให้โครงการยังไม่มีการดำเนินงานแต่อย่างใด เช่น ชุมชนไม่สามารถจัดหาพื้นที่ส่วนกลางเพื่อตั้งโครงการได้เพราะต้องใช้ที่ดินส่วนรวม 10-12 ไร่  ปัญหาชุมชนไม่สามารถจัดหาเงินลงทุนได้ เป็นต้น

นายอารีพงษ์ กล่าวว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ FiT ในปี 57-58 เป็นดังนี้ 1)แบบติดตั้งบนพื้นดิน(90 เมกะวัตต์) 5.66 บาท/หน่วย 2)แบบติดตั้งบนหลังคา(บ้านอยู่อาศัย 10 กิโลวัตต์)  6.85 บาท/หน่วย 3)แบบติดตั้งบนหลังคา(อาคารธุรกิจ/โรงงาน >10-250 กิโลวัตต์) 6.40 บาท/หน่วย 4) แบบติดตั้งบนหลังคา(อาคารธุรกิจ/โรงงาน >250-1,000 กิโลวัตต์) 6.01 บาท/หน่วย  5)แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร 5.66 บาท/หน่วย

ทั้งนี้ โครงการทุกรูปแบบมีระยะเวลาในการสนับสนุน 25 ปี

ที่มา ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) - ศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2557 13:24:06 น.


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

Tags

โซล่าฟาร์ม โซล่าเซลล์ solar farm บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม โซล่าอินเวอร์เตอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ solar inverter ขายไฟฟ้า วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ รับซื้อไฟฟ้า จําหน่ายโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซล รูฟท้อปโซล่า ขาย solar cell ราคาถูก Sshneider solar cell ราคา LappKabel Solar XLR-R grid tie solar cell Roof top solar อินเวอร์เตอร์ Schneider ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สายไฟ DC inverter Grid Tie Inverter solar cell ขาย กริดอินเวอร์เตอร์ ราคาโรงงาน สายไฟโซล่า grid inverter ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 โซล่าชาร์จเจอร์ โซล่าอินเวอร์เตอร์ 3เฟส โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ ราคา ติดตั้งโซล่าฟาร์ม ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ Car park solar cell Longi mono การลงทุนทำsolar farm solar inverterเครื่องแปลงกระแสไฟ แผงโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ โรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องแปลงกระแสไฟ