User Online

User Online: 22
Today Accessed: 296
Total Accessed: 457080
Your IP: 3.147.140.217
สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเสนอผลการศึกษาแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)แบบเสรี ต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปลายเดือน ส.ค.นี้ โดยผลการศึกษาเบื้องต้นระบุการรับซื้อเข้าระบบขั้นต่ำปีละ 300 เมกะวัตต์ รวม6,000 เมกะวัตต์จนถึงปี2579 จะส่งผลกระทบน้อยมากต่อภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน  
 
ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน(Energy News Center-ENC) รายงานว่า  ผลการศึกษาโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)แบบเสรี  ซึ่งสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.)ให้ดำเนินการนั้น ขณะนี้ได้ดำเนินการเกือบ 100% แล้ว เหลือเพียงส่วนของการรับฟังความเห็นเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ คาดว่าจะนำเสนอ ต่อ พพ. ได้ในช่วงปลายเดือน ส.ค. 2560 นี้ 
 
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ทางสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ ได้ศึกษาใน 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1. ในด้านนโยบาย ว่าควรเปิดรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปส่วนเกินจากความต้องการใช้เข้าระบบสายส่งไฟฟ้าหรือไม่ และหากจำเป็นต้องรับซื้อจะใช้วิธีการใด 2.การส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อปเสรีจะกระทบต่อค่าไฟฟ้าประชาชน หรือไม่ อย่างไร และ3.ผลกระทบทางเทคนิค จะก่อให้เกิดปัญหาทางเทคนิคกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแค่ไหน และจะแก้ไขด้วยหลักวิศวกรรมอย่างไร 
 
ซึ่งในเบื้องต้น ในด้านนโยบายนั้น ทางสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ  ได้ทำการศึกษากรณีรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1.กรณีรับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำ คือทยอยรับซื้อไฟฟ้าประมาณ 300 เมกะวัตต์ต่อปี  ไปจนสิ้นสุดปี 2579 (สิ้นสุดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือ PDP 2015)จะมีปริมาณรับซื้อรวม 6,000 เมกะวัตต์ และ 2.กรณีรับซื้อไฟฟ้าขั้นสูง คือทยอยรับซื้อไฟฟ้าประมาณ 600 เมกะวัตต์ต่อปี จนสิ้นสุดปี 2579 จะมีปริมาณรับซื้อรวม 12,000 เมกะวัตต์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ ผลศึกษาเบื้องต้นระบุซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปเสรีปีละ300 เมกะวัตต์ส่งผลกระทบน้อยมาก
 
โดยในกรณีทยอยรับซื้อไฟฟ้าปีละ 300 เมกะวัตต์ ไปจนถึงปี 2579 คิดเป็น 2% ของการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าจะส่งผลกระทบต่อการไฟฟ้าน้อยมากโดยไม่ต้องลงทุนระบบเพิ่มเติม และไม่ส่งผลกระทบค่าไฟฟ้าประชาชนโดยรวมมากนัก  ทั้งนี้ ประสบการณ์จากต่างประเทศซึ่ง International Energy Agency ได้วิเคราะห์ไว้พบว่าหากไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมออย่างโซลาร์รูฟท็อปเข้าระบบไม่เกิน 5% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ จะยังไม่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของระบบไฟฟ้า แต่หากปริมาณไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟเข้าสู่ระบบไฟฟ้าเกินกว่า 10% การไฟฟ้าจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนระบบให้สามารถเดินเครื่องได้อย่างยืดหยุ่นขึ้น
 
นอกจากนี้การผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปเริ่มมีข้อดีเรื่องต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยหากส่งเสริมด้วยมาตรการและระดับที่เหมาะสมสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าโดยรวมของประเทศลงได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปเริ่มต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โดยปัจจุบันต้นทุนค่าไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปอยู่ระหว่าง 3.24-3.33 บาทต่อหน่วย ซึ่งแข่งขันได้แล้วกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าก๊าซฯ LNG ที่ 3.60 บาทต่อหน่วย
 
ดังนั้นหากช่วงที่เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ภาครัฐสามารถเลือกรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนแพง ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมของประชาชนลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีความไม่สม่ำเสมอ ทำให้ภาครัฐต้องวางแผนการลงทุนและการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าในระยะยาวเพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ถูกลงของเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไว้ได้
 
อย่างไรก็ตามผลการศึกษาดังกล่าว เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่ทางพพ.มอบหมายให้ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ ดำเนินการ เท่านั้น ส่วนจะมีการเปิดรับซื้ออย่างไร จะขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงพลังงานเป็นสำคัญ 
 
ที่มา: http://energynewscenter.com/index.php/news/detail/886
 
Date : 13/08/2017, 14:56. โซลาร์รูฟท็อปเสรี
 

SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar Car park solar cell phoenix fuse Phoenix DC surge วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ solar inverterเครื่องแปลงกระแสไฟ ขายไฟให้การไฟฟ้า 2563 pantip Solar CONNECTOR โครงงานโซล่าเซลล์ โซลาร์ภาคประชาชน กกพ โรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาร์ฟิวส์