เหตุการณ์ไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้นานนับ 4 ชั่วโมงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่าประเทศไทยอาจไม่มีความมั่นคงทางพลังงานอีกต่อไป ถ้อยแถลงของรัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ระบุว่าเกิดเหตุขัดข้องจากฟ้าผ่าสายส่งใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ที่ลำเลียงไฟฟ้าจากราชบุรีสู่ภาคใต้ ยิ่งย้ำลงไปอีกว่าความสว่างไสวในพื้นที่ภาคใต้ฝากไว้เพียงสายส่งไฟฟ้าจาก จังหวัดภาคกลางไม่กี่เส้นที่ส่งลงไป แถมมีการออกมาเตือนอีกว่า ภาคอีสานอาจเจอภาวะไฟดับเช่นกัน ในฐานะประชาชนที่ไม่จำป็นต้องฝากธุรกิจไว้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ นวัตกรรมการสร้างไฟฟ้าด้วยตัวเอง รวมทั้งการประหยัดการใช้ไฟฟ้านั้นมีอยู่ แต่ที่ผ่านมาประชาชนไม่ได้รับการบอกเล่าจากรัฐบาล ต่างกับการประกาศอย่างครึกโครมว่าจำเป็นต้องเร่งสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยเหตุที่ว่า มีพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ
ดร.ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย และผู้บริหาร บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการบริหารจัดการไฟฟ้าในภาคครัวเรือนนั้นขณะนี้ประชาชนมีทางเลือกอยู่ 2 แบบคือเปลี่ยนมิเตอร์แบบเดิม TOD (Time of day,มาใช้มิเตอร์เรียกว่า TOU ( Time of use) ในเวลากลางวันค่าไฟฟ้าบวกค่าเอฟทีบวกค่าแวตเฉลี่ยแล้วหน่วยละ 6.19 บาท ในเวลากลางคืนหน่วยละ 2.89 บาท แต่ราคาค่าธรรมเนียมเปลี่ยนมิเตอร์ ทางเลือกที่ 2 คือการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน แต่ทั้งนี้ตามเงื่อนไขต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟเป็น TOU ด้วย ชุดโซลาร์เซลล์พื้นที่ 25 ตร.ม. ขนาดเล็กสุด คำนวณเงินลงทุนไว้ที่ 385,000 บาท สามารถมีไฟฟ้าที่สามารถใช้ได้ 3.8 กิโลวัตต์ ใช้ แผงโซลาร์เซลล์ 240 วัตต์จำนวน 16 แผง วัตต์ เพียงพอในช่วงกลางวันใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ส่วนกลางคืนใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เมื่อคำนวณแล้วบ้านที่เสียค่าไฟฟ้าเดือนเป็นหมื่นบาทหรือห้าพัน ตัดสินใจนำเงินแสนมาลงทุนจะประหยัดค่าไฟได้ครึ่งหนึ่ง และนำเงินที่ประหยัดได้นำมาจ่ายค่าติดตั้งโซลาร์เซลล์หลังจาก 9 ปีจะสามารถคืนทุนได้ อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ 30 ปี หลังจากปีที่ 9 ไปเท่ากับจะมีไฟฟ้าใช้ฟรีในบ้าน
“การเปลี่ยนมิเตอร์เป็น TOU ณ วันนี้การไฟฟ้าไม่มีการประชาสัมพันธ์ไม่เชิญชวนให้ประชาชนได้ทำตรงนี้เป็น นโยบายของกระทรวงพลังงานต้องการเกลี่ยไฟฟ้าในเวลากลางวันให้ไปอยู่ในเวลา กลางคืน เท่าที่ทราบประชาชนต้องจ่าย ค่าธรรมเนียมมิเตอร์ 10,000 บาท ในความเห็นการไฟฟ้าควรลดราคาตรงนี้ลงมา เพราะทราบมาว่าต้นทุนไม่ได้แพงการไฟฟ้าควรจัดซื้อมาในปริมาณมากเพื่อผลักดัน ให้ประชาชนใช้”นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ระบุ
ที่ผ่านมีการตั้งคำถามและเสนอแนวคิดของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กรณีที่ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านแล้วมีไฟฟ้าเหลือคิดจะขายคืนให้กับการ ไฟฟ้าเหมือนกับที่ กฟผ.รับซื้อจากบริษัทที่ผลิตแบบโซลาร์ฟาร์มนั้นจะได้หรือไม่ ขณะเดียวกันรัฐยังจ่ายค่าส่วนรับซื้อไฟฟ้า (adder) ให้กับผู้ที่ไปลงทุนด้านพลังงานทดแทนแล้วนำมาขายให้การไฟฟ้า
นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย กล่าวว่าในประเด็น การขายไฟฟ้าคืนทางการไฟฟ้าทราบมาว่ากระทรวงพลังงานกำลังเตรียมเรื่องนี้อยู่ ถ้ามีไฟฟ้าเหลือสามารถคืนให้การไฟฟ้าได้ แต่คาดว่าราคาขายคืนจะเป็นราคาที่ประชาชนซื้อเข้ามา ไม่มีมาตรการแอดเดอร์ (adder) ให้เหมือนกับผู้ผลิตรายใหญ่ แต่มองว่าในแผนการจัดการบริหารพลังงานนั้นยังคุ้มค่า เทียบกับที่กฟผ.ต้องไปสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน อีกทั้งต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ห่างไกลต้องสร้างสายส่งเพิ่ม แต่การติดตั้งบนหลังคาบ้าน ให้ไฟฟ้าเข้าบ้านตัวเองเท่ากับไม่ต้องสร้างสายส่งเพิ่ม เหตุการณ์ไฟฟ้าดับในภาคใต้ ที่มีศูนย์กลางใน จ.ราชบุรีส่งไฟฟ้าผ่านสายส่งไปในระยะทาง เกือบพันกม.เท่ากับสูญเสียไฟฟ้าระหว่างทางในจำนวนมาก
ดร.ดุสิต กล่าวว่า ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวฉบับใหม่ (Power Development Plan:PDP 2013) รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะให้มีโซลาร์เซลล์ 2,000 เมกะวัตต์ แบ่งสัดส่วนเป็นโซลาร์ฟาร์มครึ่งหนึ่ง โซลาร์รูฟอีก 1,000 เมกะวัตต์ จากกระแสข่าว จากกระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้ครัวเรือนติดตั้งชุดหนึ่งประมาณ 3-4 กิโลวัตต์ นำร่อง 100,000 หลังเมื่อคำนวณออกมาแล้วจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 300-400 เมกะวัตต์ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทออฟฟิศต่าง ๆ ประมาณ 500 เมกะวัตต์ รวมกันแล้วผลิตไฟฟ้าได้ 800-900 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ในความเห็นของตนนั้นนำร่อง ติดตั้งโซลาร์เซลล์ 1 แสนหลังในภาคครัวเรือนถือว่ายังน้อยไป แต่กรมพลังงานทดแทนบอกว่าในปีแรกจะนำร่องทำ 100,000 หลังก่อนเมื่อผลออกมาเป็นที่น่าพอใจจะขยายเพิ่ม
“คาดว่าความสนใจโซลาร์รูฟจากนี้ไปจะบูมเหมือนกับติดจรวด มาตรการจะค่อย ๆ ขยับในเดือนหน้า อาจจะมีขั้นตอนเข้าที่ต้องประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เข้าสู่ครม.แล้วเตรียมให้การไฟฟ้าประกาศใช้คาดว่าจะใช้เวลาประกาศ 2-3 เดือน แต่น่าจะมีเป็นตัวเลขออกมาในเดือนมิ.ย.”
ความหวังที่จะพึ่งพาตนเองด้วยพลังงานทางเลือกของประชาชนส่วนใหญ่นั่นไม่ ง่ายนักแม้ราคาค่าติดตั้งโซลาร์เซลล์จะลงลดมามากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์เที่ยวจาก 4-5 ปีก่อน อีกทั้งยังไม่ชัดว่าจะมีสถาบันการเงินสนับสนุนเงินกู้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และรัฐไม่สนับสนุนเงินลงทุนให้ในบางส่วนต่างกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่มีมาตรการดูแลออกมามากมาย
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมการติดตั้งโซลาร์รูฟที่เว็บไซต์ http://www.thaisolarfuture.com/
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:00 น.
Posted in โซล่าเซลล์ | Tagged home solar, home solar panels, pv rooftop, rooftop solar, solar cell, solar panel roof, solar panel roofing, solar panel rooftop, solar panels roof, solar roof, solar roof panel, solar roof tiles, solar roofing, solar rooftop, solar rooftop panels, solar rooftop system, solar technology, solarroof, การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์, การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา, ขายโซล่าเซลล์, ขายไฟฟ้า, ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า, จำหน่ายแผงโซล่าเซลล์, ติดตั้งโซล่าเซลล์, บ้านพลังงานแสงอาทิตย์, ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์, ผลิตไฟฟ้าขาย, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานโซล่าเซลล์, รับติดตั้งโซล่าเซลล์, ราคาแผงโซล่าเซลล์, ราคาโซล่าเซลล์, หลังคาโซลาร์เซลล์, หลังคาโซล่าเซล, หลังคาโซล่าเซลล์, เซลล์แสงอาทิตย์, เซลแสงอาทิตย์, แผงโซล่าเซล, โซลาร์เซลล์, โซล่าปั๊ม, โซล่าฟาร์มsolar home, โซล่ารูฟ, โซล่าเซล, โซล่าเซลล์, ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ไฟฟ้าแสงอาทิตย์