User Online

User Online: 7
Today Accessed: 843
Total Accessed: 381351
Your IP: 34.232.62.64

แก้กฎกระทรวงยกเว้น "โซลาร์รูฟท็อป" ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ไม่ต้องขอ รง.4

 กรมโรงงานเตรียมเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า แก้กฎกระทรวงยกเว้น "โซลาร์รูฟท็อป" ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ไม่ต้องขอ รง.4 เพื่อความปลอดภัย
 นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมขอแก้ไขบัญชีแนบท้ายในกฎกระทรวงใหม่ ให้มีการเพิ่มโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาเรือน (โซลาร์รูฟท็อป) ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ เข้าเป็นโรงงานประเภทสอง ที่ไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) แต่ก่อนเริ่มประกอบกิจการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบจะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อให้กฎหมายกรมโรงงานเข้าไปคุ้มครองความปลอดภัยได้ และเพื่อส่งเสริมให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตามนโยบายของรัฐบาล คาดเสนอต่อนายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อส่งต่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในสัปดาห์หน้า

 ทั้งนี้ ตามนิยามของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากโรงงานอตุสาหกรรมที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือเทียบเท่ากับกำลังผลิตไฟฟ้า 3.73 กิโลวัตต์ จัดเป็นโรงงานประเภทที่ 1 ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและไม่ต้องยื่นขอใบรง.4 ส่วนโรงงานประเภทที่ 2 เป็นโรงงานที่มีขนาดไม่เกิน 13.4 แรงม้า หรือเทียบเท่ากับกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 3.73 กิโลวัตต์ ถึง 10 กิโลวัตต์ กรมโรงงานยืดหยุ่นให้ไม่ต้องขอใบรง.4 แต่ต้องแจ้งการดำเนินการงานให้ทราบ และโรงงานประเภทที่ 3 คือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเครื่องยนต์เกิน 20 แรงม้าขึ้นไป จะต้องยื่นขอใบรง.4 ก่อนประกอบกิจการ

 "กฎเกณฑ์นี้ขัดขวางให้กระบวนการล่าช้า จะเห็นได้ว่ามีความพยายามปรับแก้บัญชีแนบท้ายเพิ่มประเภทกิจการนี้เข้าไปในกฎกระทรวง แต่ที่ยังต้องมีการแจ้งและขออนุญาตนั้น เพื่อจะได้มีกฎหมายกำกับดูแล เพราะมีความห่วงในเรื่องของความปลอดภัยทั้งในเรื่องของระบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และการจัดการเศษซากแผงโซลาร์หลังหมดอายุ"
 โดยการดำเนินการตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอไปนั้น เพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะหากไม่มีกฎหมายเข้าไปกำกับดูแล เวลาเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วหน่วยงานใดจะเป็นคนรับผิดชอบดูแล ในอนาคตอาจนำสู่การฟ้องร้องขึ้นได้ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดจากระบบติดตั้งแผงโซลาร์ในต่างประเทศมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว เช่น ประเทศแคนาดา และเนเธอร์แลนด์ เกิดปัญหาไฟไหม้

 อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ถือว่าอยู่ในอำนาจที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปดำเนินการได้ เพระาตามมาตรา 48 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) เป็นผู้ดูแลกำหนดไว้ว่าผู้ที่ยื่นขอติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อปจะต้องขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวก่อน คือ ขอใบอนุญาตควบคุมอาคาร (อ.1) จากเทศบาลในพื้นที่ และ รง.4 เมื่อได้เอกสารครบตามที่กำหนดจึงจะยื่นให้เรกูเลเตอร์พิจารณาอนุมัติการดำเนินการได้
 ส่วนในเรื่องความกังวัลว่าจะติดขัดในกฎหมายผังเมืองนั้น ได้มีการหารือในเบื้องต้นกับอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองแล้ว มีความเห็นว่าหากบ้านเรือนที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเป็นโรงงานประเภท 2 สามารถแก้กฎหมายผังเมืองเปิดช่องให้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในเขตเมืองได้

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ 23-24 ก.ย. 56


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

Tags

โซล่าฟาร์ม โซล่าเซลล์ solar farm พลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม solar inverter โซล่าอินเวอร์เตอร์ รับซื้อไฟฟ้า จําหน่ายโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซล ขายไฟฟ้า วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า Schneider Grid Tie Inverter grid tie ขาย solar cell ราคาถูก สายไฟ DC solar cell ราคา solar cell Roof top solar อินเวอร์เตอร์ Sshneider inverter สายไฟโซล่า กริดอินเวอร์เตอร์ ราคาโรงงาน โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า solar farm ราคา Car park solar cell Longi mono โรงจอดรถพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน grid inverter 3 phase โซล่าอินเวอร์เตอร์ 3เฟส ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ solar inverterเครื่องแปลงกระแสไฟ แผงโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ Basket Cable Tray ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 โซล่าอินเวอร์เตอร์ ราคาถูก