User Online

User Online: 8
Today Accessed: 471
Total Accessed: 452271
Your IP: 18.118.166.130

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน แถลงข้อเสนอปฏิรูปพลังงาน เน้นส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเสรีที่ใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชนและครัวเรือน ให้มีการประกาศใช้ภายใน2ปี พร้อมเสนอบูรณาการการทำงานร่วม3การไฟฟ้าคือ กฟผ. กฟน. PEA โดยกำหนดให้มีระเบียบ Third Party Access ของระบบส่งและระบบจำหน่าย และส่งเสริมกิจการจำหน่าย (Retail) ภายใน 1 ปี

นายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดแถลงข่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการที่จัดทำเป็นแผนแม่บทแล้วเสร็จ ก่อนจะส่งต่อให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านอื่นๆ เพื่อนำเสนอเป็นภาพรวมต่อคณะรัฐมนตรี ภายในเดือน ก.พ. ก่อนจะเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณา และประกาศใช้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว ในเดือนเม.ย. 2561นี้

โดยสาระสำคัญของข้อเสนอปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน จะเน้นในเรื่องของการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทางพลังงานไฟฟ้าของไทย ซึ่งในส่วนของการปฏิรูปส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขันนั้น จะส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเสรีที่ใช้พลังงานทดแทนในระดับชุมชนและครัวเรือน โดยกำหนดจัดทำร่างระเบียบการส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเสรีที่ใช้พลังงานทดแทน และประกาศใช้ ภายใน 2 ปี พร้อมเสนอแนะรูปแบบการปรับปรุงกิจการไฟฟ้าทั้งระบบเพื่อรองรับรูปแบบกิจการไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น Prosumer/ Retail/ TPA ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องเร่งกำหนดรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยจะศึกษาการปรับปรุงกิจการไฟฟ้าทั้งระบบ ภายในระยะเวลาปีครึ่ง

ทั้งนี้ ในโครงสร้างการบริหารกิจการไฟฟ้า จะเสนอให้มีการบูรณาการ การทำงานร่วม 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) โดยศึกษาความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย การส่งเสริมและจัดทำระเบียบและกฎเกณฑ์สำหรับ Third Party Access ของระบบส่งและระบบจำหน่าย รวมถึงการส่งเสริมกิจการจำหน่าย (Retail) เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นในระบบไฟฟ้า โดยกำหนดให้มีระเบียบ Third Party Access ของระบบส่งและระบบจำหน่าย และส่งเสริมกิจการจำหน่าย (Retail) ดังกล่าว ภายใน 1 ปี

โดยการปฏิรูปโครงสร้างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) เสนอให้จัดทำ PDP ใหม่ที่คํานึงถึงความสมดุลรายภาค ปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้า และมุ่งเพิ่มความมั่นคงระบบไฟฟ้าสำหรับจุดที่มีความเสี่ยงและมีความสำคัญต่อประเทศชาติ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณา อาทิ กำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงที่สมดุลและความเสี่ยงของการจัดหาเชื้อเพลิงทั้งระบบ ความสามารถพึ่งพาตนเองของประเทศในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตสำรองที่เหมาะสม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระจายระบบผลิตและบริหารแหล่งเชื้อเพลิงตามภูมิภาค ผลิตไฟฟ้าใช้เองของผู้ใช้ไฟฟ้า (Prosumer) ข้อมูลระบบส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงและประสิทธิภาพด้านระบบไฟฟ้า โครงสร้างค่าไฟฟ้าทั้งระบบ นำ TOU มาใช้สำหรับกิจการทุกประเภท โดยจะศึกษาข้อมูลสำคัญ 1 ปี จัดทำ PDP ใหม่ ภายใน 2 ปี และหน่วยงานนำแผนไปดำเนินการตั้งแต่ปีที่ 3

สำหรับการปฏิรูปองค์กรเสนอให้มีการสร้าง Code of Conduct หน่วย นโยบาย-กำกับ-ปฏิบัติ เพื่อสร้างความชัดเจนและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน สร้างระบบ KPI ติดตามประเมินผลสำนักงาน กกพ. และเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสำนักงาน กกพ. ควรปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้ครบถ้วนมี Code of Conduct และดำเนินการได้ใน 2 ปี

เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศด้านพลังงานเชื่อมโยงระบบสารสนเทศ (เชื่อมฐานข้อมูลกลาง /เชื่อมหน่วยงานผ่าน GIN) และจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติฐานข้อมูล สมบูรณ์และมีมาตรฐานเดียวกัน เชื่อมโยงระบบและมีศูนย์ภายใน 2 ปี ส่วนประเด็นการสร้างธรรมาภิบาล เสนอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐอย่างเป็นทางการโดยแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาสังคม ให้ความเห็นและเสนอแนะคณะกรรมการต่างๆ ของกระทรวงพลังงาน ภายใต้คำสั่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยมีตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย คือ ผู้ใช้ ผู้ผลิต นักวิชาการ ภายในระยะเวลา 1 ปี

ส่วนการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มีเงื่อนไขว่าต้องมีการพิจารณากำหนดพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำเสนอ ผ่านการรับรองระดับจังหวัด และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะกรรมการ และดำเนินการให้ได้พื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ประชาชนเสนอใน 2 ปี

สำหรับการจัดสรรค่าภาคหลวงสู่ชุมชน เสนอให้เพิ่มสัดส่วนรายได้ให้พื้นที่ผลิตฯ และพื้นที่ทั่วประเทศเน้นกระจายลงสู่ อบต./เทศบาล และจังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและกระจายสู่ อบต. ทั่วประเทศ ในฐานะปิโตรเลียมเป็นของรัฐ โดยแก้กฎหมายการจัดสรรค่าภาคหลวงให้เหมาะสมภายใน 3 ปี

ในส่วนการปฏิรูปประเทศด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีนั้น เสนอให้มีการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้มีความต่อเนื่องและไม่เกิดการหยุดชะงัก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ นำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจพลังงาน สร้างโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการ ซื้อ-ขาย LNG ของภูมิภาค โดยศึกษาการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น Reginal LNG Hub ภายใน 1 ปี

คณะกรรมการยังเสนอการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนการใช้ local content และการค้าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน ให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนผลิตปิโตรเคมีชนิดพิเศษ และผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่มีมูลค่าสูง กำหนดจัดทำแผนการพัฒนา ภายใน 2 ปี

พัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ให้มีการลงทุนอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีต้นน้ำ และการปรับปรุงโรงกลั่นเพื่อผลิตวัตถุดิบปิโตรเคมี ทบทวนการจัดสรรสัดส่วนและเพดานการปล่อยมลพิษทางอากาศ ให้สิทธิประโยชน์ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน/สาธารณูปโภค สนับสนุนการวิจัย/พัฒนาและการลงทุนโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) พัฒนาและเตรียมคนเพื่อรองรับ โดยให้จัดทำแผนการพัฒนาที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกภายใน 2 ปี เสนอให้กำหนดพื้นที่ใหม่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะยาว ศึกษาเพื่อกำหนดกรอบแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในระยะยาว

นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์รูฟเสรีและมีแนวทางสนับสนุน มาตรฐาน การบริหารจัดการ โดยกำหนด KPI ว่าภายใน 5 ปี จะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟได้อย่างแพร่หลายทั้งบนหลังคาบ้าน และอาคารพาณิชย์ มีกฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่างๆ เพื่อรองรับ อำนวยความสะดวกในการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรีที่ลดขั้นตอน ลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าปัจจุบัน และมีการให้บริการแบบ One Stop Service ในการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์รูฟ

ส่วนการปฏิรูปประเทศด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน นั้นเสนอจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติศึกษากำหนดทิศทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจน ประกาศเป้าหมายการพัฒนาและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ปรับปรุงแผนด้านพลังงานและการจัดหาพลังงานเพื่อรองรับ จัดทำแผนปฏิบัติการ และจัดทำแนวทางสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ภาคเอกชน

รวมทั้งการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน เพื่อให้ประเทศไทยมีทิศทางการส่งเสริมการลงทุน และมีการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กพช.) ศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงาน เป็นอุตสาหกรรมอนาคตของประเทศ และการกำหนดแผนการนำมาใช้ในระบบสายส่งในภาคพลังงาน จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงาน และปรับปรุงการวางแผนด้านพลังงาน ได้แก่ PDP, EEP ให้มีการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา: http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1100

Date : 18/01/2018, 18:16


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ แผงโซล่าเซล inverter ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า pantip EPIC® SOLAR ราคาแผงโซล่าเซลล์ Carport dc fuse AC Surge Protection Devices grid inverter เซ็นทรัล อินเวอร์เตอร์ EATON