User Online

User Online: 10
Today Accessed: 563
Total Accessed: 455069
Your IP: 3.15.10.104

โดยปัจจุบันทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แจ้งว่า ตัวเลขการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์เซลล์) มีทั้งสิ้น 3,024 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โซลาร์ฟาร์ม 2,627 เมกะวัตต์ ,โซลาร์รูฟท็อป 130 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือเป็นโซลาร์ราชการและสหกรณ์การเกษตร 267 เมกะวัตต์ นอกจากนี้กกพ.อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลโซลาร์รูฟท็อปที่อยู่นอกระบบ คาดว่าปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 70-80 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่จะติดตั้งในนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน คาดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 100 เมกะวัตต์

“เนื่องจากมีผู้เข้ามาขอใบอนุญาตติดตั้งทุกเดือน ขณะที่โซลาร์รูฟท็อปที่ไม่ได้จดแจ้งในส่วนของนิคมอุตสาห กรรม หลังคาโรงงาน ซึ่งผลิตเองใช้เองก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนตอนนี้ลดลงมาก”

นอกจากนี้ยังไม่นับรวมโซลาร์รูฟท็อปเสรี ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้

นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย เปิดเผยว่า ทิศทางโซลาร์รูฟท็อปในปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายของภาครัฐซึ่งทราบว่านายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ ได้เข้ามาพิจารณารายละเอียดโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี ที่คาดว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น Net Billing ที่สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบได้ แต่จะเปิดรับซื้อกี่เมกะวัตต์นั้น ยังต้องรอความชัดเจนต่อไป

ขณะที่การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรีในรูปแบบผลิตเองใช้เอง(ไอพีเอส) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เตรียมเสนอเข้าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จากนั้นจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป คาดว่าผู้ที่ต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรีแบบที่ไม่ขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบ จะไม่มีการจำกัดโควตา แต่อาจจำกัดเรื่องความสามารถในการเชื่อมต่อระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการโซลาร์รูฟท็อปในรูปแบบ Private PPA ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนกับเอกชน ที่เช่าหลังคาลงทุนโซลาร์รูฟท็อปแล้วขายไฟฟ้าให้เจ้าของโครงการหรืออาคารนั้น ๆ ในราคาที่ถูกกว่าซื้อจากการไฟฟ้าฯ
ดังนั้น ด้วยต้นทุนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ที่ปรับตัวลดลงมา 5-10% ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันอยู่ตํ่ากว่า 40 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ จึงคาดว่าในปีนี้ จะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มสูงขึ้นในระบบ 300-500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีโซลาร์เซลล์(โซลาร์รูฟท็อป และโซลาร์ฟาร์ม) เข้าระบบแล้วมากกว่า 2,600 เมกะวัตต์


จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีเอกชนหลายรายเข้ามาในธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อประบบ Private PPA ที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการันตีค่าไฟถูกกว่าการไฟฟ้าฯ 10% และคาดว่าแนวโน้มจะมีเอกชนเข้ามาในธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นอีก ถือเป็นกลยุทธ์การแข่งขันอีกทางหนึ่งในการดึงดูดลูกค้าให้มาติดตั้ง

ปัจจุบันโซลาร์รูฟท็อปได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งรูปแบบผลิตเองใช้เองที่นิยมติดตั้งในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดใหญ่ติดตั้งเพื่อใช้ไฟฟ้าเองและโซลาร์รูฟท็อปเสรีที่กระทรวงพลังงานจำกัดโควตา สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบได้

โดยแนวโน้มโซลาร์รูฟท็อปแบบผลิตใช้เองเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากกลุ่มโรงงานอุตสาห กรรมขนาดใหญ่ต้องการลดพีคไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มีอัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.20 บาทต่อหน่วย เทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าช่วงกลางคืนอยู่ที่ 2.90 บาทต่อหน่วย เพราะการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ถูกกว่า ส่งผลให้สามารถลดค่าไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวได้ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าหลายล้านบาทต่อเดือน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ แผงโซล่าเซล inverter ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า pantip EPIC® SOLAR ราคาแผงโซล่าเซลล์ Carport dc fuse AC Surge Protection Devices grid inverter เซ็นทรัล อินเวอร์เตอร์ EATON