User Online

User Online: 6
Today Accessed: 467
Total Accessed: 452267
Your IP: 3.149.251.199

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกให้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) เปิดเผยว่ามีปัญหาเกิดขึ้นและทำให้ผู้ประกอบการวิตกกังวลอย่างยิ่ง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการขยายกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งกำหนดไว้เป็นภายใน 31 ธันวาคม 2556 ขณะเดียวกันโครงการนี้ มีความจำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) เนื่องจากการพิจารณาตามมาตรา 31 ของพระราช บัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานใด มีความเกี่ยวข้องกับประชาชน ผู้ประกอบการต้องได้รับอนุญาตก่อนเริ่มดำเนินการ เพื่อประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวก และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาช่องว่าง หน่วยงานใดที่จะมาดูแล หากโครงการโซลาร์ รูฟท็อป ยังมีปัญหาความล่าช้านี้

ทั้งนี้จากปัญหาจากทั้งสองประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการโซลาร์ รูฟท็อป ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เดือดร้อน ซึ่งส่อเค้าว่าจะเกิดความวุ่นวายและมีปัญหาตามมาในอนาคต โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยจะมีปัญหาค่อนข้างสูง เนื่องจากมีประเด็นเรื่องกระแสเงินสดหมุนเวียนไม่เพียงพอ เพราะได้จ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างและติดตั้งได้เนื่องจากรอใบอนุญาต รง.4 จึงอยากให้ทางการออกมาตรการที่ชัดเจน โดยปัจจุบันกำลังเดือดร้อนอย่างหนักขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ก็ไม่สามารถอนุมัติเงินกู้ให้ได้เพราะไม่มีใบอนุญาต รง.4

“โครงการโซลาร์ รูฟท็อป ที่ผ่านมาได้อนุมัติไปแล้ว 200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น 100 เมกะวัตต์สำหรับบ้านพักอาศัยและอีก 100 เมกะวัตต์ สำหรับโครงการขนาดใหญ่ตอนนี้กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะกกพ.ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการดำเนินเรื่องใบอนุญาตทุกชนิดยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ออกมา โดยเฉพาะเรื่องขยายระยะเวลาและก็ไม่สามารถยกเว้นใบ รง.4 ได้อย่างที่ กกพ.เคยแจ้งไว้ และที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประกอบการหลายรายได้สั่งซื้อสินค้าและอุปกรณ์เข้ามาบางส่วน โดยอยู่ระหว่างเตรียมการเริ่มก่อสร้าง แต่เมื่อไม่มีความชัดเจนว่าจะได้รับใบอนุญาต รง.4 เมื่อไหร่ และจะเลื่อนกำหนดการจ่ายไฟฟ้าได้ไปถึงเมื่อใด รวมถึงระยะเวลาก่อสร้างหลังจากได้รับใบอนุญาต รง.4 จะเพียงพอที่จะก่อสร้างได้หรือไม่ จึงทำให้เป็นภาระที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับเอาไว้ อาทิ บางรายสั่งของมาแล้วแต่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ หรือมีบางรายได้ว่าจ้างผู้รับเหมาไปแล้ว ปัจจุบันเริ่มจะไม่มีเงินไปจ่ายให้กับผู้รับเหมาแล้ว ทำให้งานค้าง ดังนั้นอาจะเป็นประเด็นที่ส่อเค้าว่าจะเกิดความวุ่นวายในอนาคต จึงอยากให้ กกพ.และกระทรวงพลังงาน แสดงจุดยืนว่าจะดำเนินการอย่างไร”

กลุ่มผู้ประกอบการ กล่าวต่อว่าหากโครงการดังกล่าวต้องสะดุด หรือระงับไป คาดว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมหาศาล คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 7,000-8,000 ล้านบาท และกลุ่มผู้ประกอบการได้รวมตัวกันและส่งเรื่องถึงสภาอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย (TPVA) เพื่อให้เป็นตัวแทนในการประสานงานต่อไป และทราบว่าภายในสัปดาห์นี้จะยื่นเรื่องเสนอเข้าไปยัง กกพ. อีกครั้ง หลังจากที่ได้ยื่นเรื่องดังกล่าวไปแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้ประกอบการทั้งหมดเดือดร้อนแล้วและต้องการให้มีความชัดเจน ไม่ต้องการให้ปัญหาคาราคาชัง

“เกี่ยวกับเรื่องใบ รง.4 ที่ล่าช้า ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรและติดขัดตรงไหน เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการดำเนินงานตามขั้นตอนทุกอย่าง ตั้งแต่การเข้าไปคุยกับ อบต. ให้มาดูโรงงานและคำนวณว่ามันมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน สามารถก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกใบ อ.1 (ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร) เรียบร้อย จากนั้นก็รวบรวมเอกสารแล้วไปติดประกาศที่จังหวัดอีก 15 วัน และส่งเรื่องมาที่ส่วนกลาง ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อจากนี้คือ รอให้กระทรวงอุตสาหกรรมอนุมัติ

แต่ขณะนี้ยังไม่ผ่านขั้นตอนดังกล่าว และสาเหตุที่ 2 เรื่องการขยายเวลา ซึ่ง กกพ. มีอำนาจคนเดียวที่จะอนุมัติ แต่ กกพ.ก็ไม่ประกาศว่าจะขยายหรือไม่ขยาย ยังคงเงียบอยู่และหน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินเรื่องดังกล่าวมีเพียง กกพ. เท่านั้น คือถ้าไม่ได้ใบอนุญาต รง.4 ก็ควรจะเลื่อนระยะเวลาออกไปอีกประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แต่เรื่องก็เงียบไป ปล่อยให้เป็นสุญญากาศแบบนี้ผู้ประกอบการก็ตาย” แหล่งข่าวกล่าวในที่สุด

อนึ่ง กลุ่มธุรกิจหลักๆ ที่ได้รับการคัดเลือกในรอบนี้ ได้แก่ กลุ่มบริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TSE) ของนางสาวแคทลีน มาลีนนท์ ได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 11 โครงการ กำลังการผลิต 11,000 กิโลวัตต์, กลุ่มบริษัทสกายโซล่าร์ พาวเวอร์ ของนางสาวปาลีรัฐ ปานบุญห้อม จำนวน 5 โครงการ กำลังผลิต 4,800 กิโลวัตต์ บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ บมจ. เอสพีซีจีจำนวน 9 โครงการ กำลังการผลิต 4,234 กิโลวัตต์ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำนวน 3 โครงการ กำลังผลิต 2,673.96 กิโลวัตต์, กลุ่มไทยซัมมิท จำนวน 3 โครงการ กำลังผลิต 2,411.28 กิโลวัตต์, ฯลฯ

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/business/83436

วันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556, 06.00 น.


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

solar cell ขาย รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ MED basket Tray บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Basket Cable Tray Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ แผงโซล่าเซล inverter ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า pantip EPIC® SOLAR ราคาแผงโซล่าเซลล์ Carport dc fuse AC Surge Protection Devices grid inverter เซ็นทรัล อินเวอร์เตอร์ EATON