User Online

User Online: 13
Today Accessed: 261
Total Accessed: 457137
Your IP: 18.189.194.225

เอกชนค้านผลิตไฟฟ้าบนหลังคา
วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 23:20 น.

โซลาร์รูฟท็อปป่วน เอกชนยื่นหนังสือคัดค้าน ชี้เวลาเร่งรัด-หลักเกณฑ์ไม่เป็นธรรม
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิต ไฟฟ้าบนหลังคา(โซลาร์ รูฟ ท็อป)ทั้งหลังคาบ้านเรือนและหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)อยู่ระหว่างประกาศรับฟังความคิด เห็นต่อระเบียบ หลักการณ์ในการควบคุมดูแล เบื้องต้นกำหนดให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)รับ ซื้อไฟฟ้าดังกล่าวในระบบสนับสนุนเงินการผลิตไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง(ฟีด อินทารีฟ)ราว 6 บาทต่อหน่วย ระยะเวลารับซื้อ กำลังการผลิตรวม 200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นบ้าน 100 เมกะวัตต์ และโรงงานอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดให้ขออนุญาตติดตั้งภายในเดือนธ.ค.นี้ ในระบบยื่นก่อนได้ลงทุนก่อน หากมีผู้สนใจมากกว่า 200 เมกะวัตต์ จะเสนอคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำหนดอัตราการผลิตไฟฟ้าเพิ่ม และนำรายชื่อลำดับที่เหลืออยู่เข้าระบบ

"จะกำหนดให้ผู้ขอติดตั้งได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ต่อราย(1,000 กิโลวัตต์ เท่ากับ 1 เมกะวัตต์) เพื่อให้การผลิตไม่กระจุกตัว และหากรายใดเข้าคิวยื่นแต่ไม่ได้สิทธิผลิตจะเสนอกพช.ขยายกำลังผลิตไฟฟ้าแน่ นอน เพราะเป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุน"

นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม สมาคมฯได้ส่งหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยและขอให้แก้ไขแนวทางการดำเนินงานของ รัฐบาลและกกพ. เนื่องจากโซลาร์รูฟท็อปมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทมีความเร่งรัดและขั้นตอนไม่ เสมอภาค เพราะกำหนดให้ยื่นแบบขอจำหน่ายไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 2-20 กันยายน จากนั้นต้นเดือนตุลาคม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จะประกาศรายชื่อผู้ยื่น กลางเดือนตุลาคม กฟภ.จะประกาศผู้ได้รับสิทธิ และดำเนินการติดตั้งเดือนพฤศจิกายน แสดงให้เห็นว่าเร่งรัดเกินไป ดังนั้นควรปรับเวลาออกไป อาทิ ยื่นขอจำหน่ายไฟฟ้าวันที่ 15-30 กันยายน

นายดุสิตกล่าวว่า ทั้งนี้ยังพบปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ระบุว่า ไฟฟ้าของบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มละ 100เมกะวัตต์ และแต่ละกลุ่มแบ่งเป็นกำลังผลิตของกฟน. 40 เมกะวัตต์ และกฟภ.60 เมกะวัตต์ และใน 60 เมกะวัตต์นี้จะแบ่งการยื่นแบบขอจำหน่ายไฟเป็น 4 ภาค ภาคละ 15 เมกะวัตต์ คือ ภาคกลางและตะวันออก ยื่นจ.พระนครศรีอยุธยา ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก 1ภาคใต้ จ.เพชรบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา โดยการกำหนดดังกล่าวทำให้ผู้สนใจไม่สะดวกในการเดินทาง และกำหนดจุดน้อยเดินไป นอกจากนี้ควรเปลี่ยนระบบยื่นก่อนได้ลงทุนก่อน เป็นจับฉลาก เพราะจะทำให้เกิดความเสมอภาคต่อผู้ต้องการติดตั้งโซลาร์ รูฟ ท็อป โดยวันที่ 29 สิงหาคมนี้จะยื่นหนังสือขอให้กกพ.พิจารณาปรับหลักเกณฑ์ทั้งหมดอีกครั้ง

รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)หรือ เรกูเลเตอร์ กล่าวว่า กกพ.อยู่ระหว่างเชิญชวนประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียร่วมแสดง ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วย การรับซื้อฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ..... และ(ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2556 ถึง 29 สิงหาคม เวลา 12.00 น. เรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ตามนโยบายรัฐบาล กำหนดให้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในเดือนธันวาคม 2556

ที่มา เดลินิวส์ วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556
http://www.dailynews.co.th/businesss/229328


SOLAR NEWS

HOW SOLAR WORK

New products

» Do not allow new products at this time.

Tags

รูฟท้อปโซล่า พลังงานแสงอาทิตย์ LappKabel Solar XLR-R ขาย solar cell ราคาถูก solar cell ราคา โซล่าเซลล์ solar cell Roof top solar สายไฟ DC ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ solar cell ขาย โซล่าฟาร์ม สายไฟโซล่า MED basket Tray ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า 2563 ขั้นตอนการขออนุญาติทำโซล่ารูฟ บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ฟาร์ม ราคา Solar mono โซลาร์ภาคประชาชน pantip แผงโซล่าเซลล์ Longi solar เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ ส่วนประกอบของโซล่าเซลล์ รางตะกร้าสายไฟ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน Basket Cable Tray โครงการโซล่าเซลล์ รัฐบาล 2563 โซล่าเซลล์ ปั้มน้ำ Longi mono โซล่าร์เซลล์ ภาคประชาชน การไฟฟ้า โซล่า ชาร์จเจอร์ คอนโทรล โซล่าชาร์จเจอร์ รางตะแกรงสายไฟ แผงโซล่าเซลล์ ราคา grid inverter เซ็นทรัล อินเวอร์เตอร์ EATON โซ ล่า เซลล์ ก ฟ ผ Phoenix Contact DC surge โซล่าอินเวอร์เตอร์ Phoenix Contact fuses Holder การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภา ขายไฟฟ้า monitoring system Phoenix DC surge