User Online

User Online: 8
Today Accessed: 436
Total Accessed: 456156
Your IP: 18.191.218.101

โครงการส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อปที่สามารถทั้งผลิตใช้เองและขายเข้าระบบได้นั้น คาดว่าจะเปิดรับซื้อได้ภายในสิ้นปีนี้ แต่จะไม่เรียกว่าเป็นโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี โซลาร์รูฟท็อปที่สามารถทั้งผลิตใช้เองและขายเข้าระบบได้ จะเปิดรับซื้อได้ภายในสิ้นปีนี้ 2561

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดทางให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)โดยมีเป้าหมายการผลิต500-1,000 เมกะวัตต์ หากสามารถมีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกกว่าและแข่งขันได้กับโครงการนำร่องของเครือเอสซีจี ที่อยู่ในระดับราคา2.40-2.50 บาท ในขณะที่โครงการส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อปที่สามารถทั้งผลิตใช้เองและขายเข้าระบบได้นั้น คาดว่าจะเปิดรับซื้อได้ภายในสิ้นปีนี้ แต่จะไม่เรียกว่าเป็นโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 11พ.ค.2561 ว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ หรือโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในเขื่อนผลิตไฟฟ้าของกฟผ. รวมกำลังการผลิตประมาณ 500-1,000เมกะวัตต์ โดยมีการศึกษาร่วมกับบริษัทในเครือเอสซีจี ซึ่งประสบความสำเร็จในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ นำร่อง ขนาด1เมกะวัตต์ และมีต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 2.40-2.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำของกฟผ. จะช่วยให้การผลิตไฟฟ้าของกฟผ.มีความเสถียรและช่วยเสริมความมั่นคงให้กับระบบมากขึ้น โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อนจะมาช่วยเสริมความมั่นคงของไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้า เช่นช่วงที่แดดไม่มี หรือช่วงเวลากลางคืน ทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าป้อนเข้าระบบได้ตลอด24ชั่วโมง ซึ่งการผสมผสานทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นระบบผลิตไฟฟ้าระบบแรกๆของโลก

อย่างไรก็ตามทั้งกฟผ.และบริษัทในเครือเอสซีจี จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องของระดับน้ำในเขื่อนที่ขึ้นลงแตกต่างกันกว่า10เมตร ที่ระบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับทุ่นลอยน้ำจะต้องมีองศาการรับแสงแดดที่เหมาะกับการผลิตไฟฟ้า และมีความทนทานของทุ่นลอยน้ำที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน โดยโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำภายในเขื่อนของกฟผ.ยังมีข้อดีที่ไม่ต้องมีการลงทุนสร้างระบบสายส่ง เพิ่มเติม เหมือนโครงการโซลาร์ฟาร์มอื่นๆ ที่ผ่านมา ทำให้สามารถใช้ระบบต่างๆที่มีอยู่เดิมภายในเขื่อนให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด

สำหรับนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)นั้น ยืนยันว่า จะเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน ที่จะต้องใช้ระยะเวลาศึกษาและพิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะเป็นแกนหลักในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไปในอนาคต ที่เน้นให้มีการผลิตไฟฟ้าใช้เองและขายเข้าระบบได้ แต่จะไม่ใช้คำว่า โซลาร์รูฟท็อปเสรีเหมือนในอดีต โดยคาดว่าจะสามารถประกาศออกเป็นนโยบายได้ภายในสิ้นปี2561 นี้

http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1294

Date : 2018-05-13 16:12:41


Home

Home

สินค้าใหม่

» ไม่มีสินค้าใหม่ในเวลานี้