User Online

User Online: 24
Today Accessed: 379
Total Accessed: 453067
Your IP: 18.220.200.33

นิยามของคำว่า "การลงทุน" หมายถึง การนำเงินที่เก็บสะสมไว้ นำไปสร้างผลตอบแทนในอนาคตที่สูงกว่าการออม ณ.ปัจจุบัน ซึ่งผู้ลงทุนเชื่อว่า เงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับคืนนั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า  หรืออาจกล่าวได้ว่า การลงทุนเป็นการออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น โดยที่จะต้องยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นการตัดสินใจลงทุน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน 

ในปัจจุบัน มีทางเลือกสำหรับการลงทุน ให้เราเลือกมากมาย ทั้งสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Assets) เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ, สลากออมสิน, พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นทุนกองทุนรวม RMF, LTF ต่างๆ,หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น หรือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Assets) เช่น ทองคำ ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ การมีความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ที่จะลงทุน จึงมีความสำคัญต่อเรามาก                                                                  การลงทุนโดยไม่มีความรู้ หรือไม่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและทางเลือกในการลงทุนดีพอ ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด

วันนี้เราขอแนะนำ การลงทุนอีกประเภทนึง คือ การลงทุน ในโซลาร์รูฟท๊อป ( Investment in Solar Rooftop) จากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้มี โครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรี เป็นโครงการที่จะเน้นการผลิตไฟฟ้าใช้เอง เป็นหลัก ส่วนที่เหลือสามารถขายเข้าสู่ระบบได้  หลังจากถกเถียงกันมานานถึงผลกระทบค่า ft ในอนาคต  จนกระทั่งได้ผลสรุปจาก สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าส่งผลกระทบน้อยมาก ซึ่งไม่เกิน  3 สตางค์ต่อหน่วย... อ่านต่อ http://solarcellcenter.com/en/content/56--300-MW

ถาม: การติดตั้งโซล่ารูฟ ผลิตไฟใช้เอง จะประหยัดได้อย่างไร
ตอบ: 
หากคุณผลิตไฟได้ 1 หน่วย ก็เท่ากับคุณไม่ต้องจ่ายค่าไฟ 1 หน่วย คิดแล้วเป็นเงินหน่วยละ 4.2 บาท (ขึ้นอยู่กับประเภทมิเตอร์ของคุณ)

ถาม: มิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท 
ตอบ: ทั้ง กฟน. และ กฟภ. แบ่งได้เป็น 8 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีอัตราค่าไฟไม่เท่ากันนะครับ

ถาม: เราจะดูประเภทมิเตอร์ได้ที่ไหน
ตอบ: สามารถดูในบิลแจ้งค่าไฟได้เลย (ในกรอบสีแดง)

ถาม: การลงทุน ในโซลาร์รูฟท๊อป ใครจะได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด (ประหยัดค่าไฟได้มากที่สุดต่อหน่วย, kWh)
ตอบ: ผู้ใช้ไฟฟ้าธุรกิจขนาดเล็ก มิเตอร์ประเภทที่ 2.2 แบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ หรือที่เรียกว่า TOU นั้นเอง   ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวัน ซึ่งอัตราค่าไฟในช่วงกลางวัน (ON Peak) สูงถึงหน่วยละ 5.7982 บาทครับ 

P    (On Peak) : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
OP (Off Peak) : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์
H    (Off Peak Holiday) : เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)

ถาม: ผู้ใช้ไฟฟ้า มิเตอร์ประเภทที่ 2 คือใคร 
ตอบ:สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจขนาดเล็ก  รวมกับที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรืออื่นๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องกำรพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ต่ำกว่ำ 30 กิโลวัตต์ (Demand

ถาม: การลงทุน ในโซลาร์รูฟท๊อป ( Investment in Solar Rooftop) คุ้มจริงหรือไม่? กี่ปีคืนทุน? ผลตอบแทนปีละกี่เปอร์เซ็น?                                

ตอบ: ผมขอยก 3 ตัวอย่าง เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า มิเตอร์ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก 2 ตัวอย่าง และ มิเตอร์ประเภทที่ 2 กิจการขนาดกลาง ดังนี้

         

1.มิเตอร์ประเภทที่ 2    2.1 อัตราปกติ ใช้ไฟเกิน 400หน่วยขึ้นไป หน่วยละ 4.4217 บาท

สมมุติว่าติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 10kW ราคา 350,000 บาท** จะผลิตไฟเฉลี่ย 1,200*** หน่วยต่อเดือน  

ก็จะสามารถประหยัดค่าไฟได้ =4.4217 x 1,200หน่วย= 5,306 บาท (ไม่คิดรวมค่าขายไฟส่วนเกิน)

จุดคืนทุนอยู่ที่ 65 เดือน หรือ 5 ปี 5 เดือน ครับ 

หากมองเป็นการลงทุนใน ราคา 350,000 บาท 

สามารถประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 5,300 บาท หรือปีละ  63,600 บาทต่อปี

คิดเป็นเปอเซ็นต์ผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุน ROI =63,600/350,000= 18.17% ครับ  

         2.มิเตอร์ประเภทที่ 2   

         2.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) หน่วยละ 5.7982 บาท

สมมุติว่าติดตั้ง Solar Rooftop 10kW ราคา 350,000 บาท** จะผลิตไฟเฉลี่ย 1,200*** หน่วยต่อเดือนเท่ากัน

จะประหยัดค่าไฟช่วง On peak = 5.7982 x 1,200 หน่วยต่อปี x 260วัน (On peak) / 365วันต่อปี = 4,856 บาท

                              Off peak = 2.6369 x 1,200 หน่วยต่อปี x 105 วัน ( Off peak) / 365 วันต่อปี = 910 บาท

                               รวมจะสามารถประหยัดได้ = 4,856+910 = 5,766 บาท ** (ไม่คิดรวมค่าขายไฟส่วนเกิน)

จุดคืนทุนอยู่ที่ 60 เดือน หรือ 5 ปี 0 เดือน ครับ 

หากมองเป็นการลงทุน 350,000 บาท 

สามารถประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 5,766 บาท หรือปีละ  69,192 บาทต่อปี

คิดเป็นเปอเซ็นต์ผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุน ROI =69,192/350,000= 19.76% เลยทีเดียวนะครับ  

        3.มิเตอร์ประเภทที่ 3   

        3.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff)  (แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์)

สมมุติว่าติดตั้ง Solar Rooftop 10kW ราคา 350,000 บาท** จะผลิตไฟเฉลี่ย 1,200*** หน่วยต่อเดือนเท่ากัน

จะประหยัดค่าไฟช่วง  On peak = 4.2097 x 1,200หน่วยต่อปี x 260วัน (On peak) / 365วันต่อปี = 3,598 บาท

                                Off peak = 2.6295 x 1,200 หน่วยต่อปี x 105 วัน ( Off peak) / 365 วันต่อปี = 907 บาท

                                รวมจะสามารถประหยัดได้ = 3,507+907 = 4,505 บาท ** (ไม่คิดรวมค่าขายไฟส่วนเกิน)

จุดคืนทุนอยู่ที่ 77 เดือน หรือ 6 ปี 5 เดือน ครับ 

หากมองเป็นการลงทุน 350,000 บาท 

สามารถประหยัดค่าไฟได้เดือนละ 4,505 บาท หรือปีละ  54,060 บาทต่อปี

คิดเป็นเปอเซ็นต์ผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุน ROI =54,060/350,000= 15.44% ครับ  

 จากตัวเลขของผลตอบแทนทั้ง 3 กรณี ออกมาถือว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว...เมื่อเทียบกับผลตอบแทนในระยะยาวกับหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แล้ว 

** ราคา Solar Rooftop เป็นราคาอ้างอิง ณ.ปี 2563 เพื่อใช้ในการคำนวณเท่านั้น ราคาจะแตกต่างขึ้นอยู่กับคุณภาพและแบรนด์เนม

*** ปล. ตัวเลขการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยมากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานที่ตั้ง, ภูมิประเทศ, คุณภาพแผงและอินเวอเอตร์, องศาและทิศทางอาคาร, เทคนิคการออกแบบของวิศวกร, ประสบการณ์ติดตั้งของทีมช่าง และที่สำคัญที่สุด คือ หลังคาบ้านท่าน น้ำต้องไม่รั่ว ครับ

เขียนโดย  www.solarcellcenter.com  กันยายน พ.ศ.2560 

คุณภาววิทย์ แนะนำให้ "ออมในหุ้น" 

ส่วนเรา บจก.มหานครฯ แนะนำให้ "ออมในโซล่าร์รูฟท๊อป" ครับ



Home

Home

สินค้าใหม่

» ไม่มีสินค้าใหม่ในเวลานี้